ความจริงของเสือดำ เสือดาว ในเอเชีย เสือดำคืออะไร ความเกี่ยวข้องเสือดาวกับเสือดำ - ไทยแลนด์ แสนรู้

สิ่งที่น่าสนใจ

loading...

วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ความจริงของเสือดำ เสือดาว ในเอเชีย เสือดำคืออะไร ความเกี่ยวข้องเสือดาวกับเสือดำ

ความจริงของเสือดำ เสือดาว ในเอเชีย เสือดำคืออะไร ความเกี่ยวข้องเสือดาวกับเสือดำ

เสือดำ เป็นชื่อสามัญเรียกของสัตว์กินเนื้อประเภทเสือและแมว (Felidae) ที่มีลักษณะลำตัวรวมถึงลวดลายเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเสือหลายชนิด

เสือดำ เกิดจากความผิดปกติในเม็ดสีที่เรียกว่าเมลานิซึม ส่งผลให้เสือที่เกิดมานั้นเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว โดยที่ยังมีลายหรือลายจุดคงอยู่ แต่จะสังเกตเห็นได้ยาก จะเห็นได้ชัดเจนเมื่ออยู่ในแสงแดด ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะพบเสือดำบริเวณป่าภาคใต้

เสือดำในเสือดาว มักพบได้มากในป่าดิบชื้นในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย, เนปาล, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเบงกอลหรือชวา ใต้ท้องของเสือดำมีสีจางเล็กน้อย ผิวสีดำของเสือดำไม่ได้มีสีดำสนิท และยังคงมีลายแบบเสือดาวอยู่ด้วยซึ่งจะเห็นชัดเวลาต้องแสงแดด ซึ่งในภาษาลาวเรียกว่า "เสือแมลงภู่" หรือ "เสือลายจ้ำหลอด" เสือดำในประเทศไทยพบได้มากในป่าภาคใต้ โดยแม่เสือดาวหนึ่งตัวจะให้ลูกที่เป็นเสือดำในอัตรา 3/1 แต่ทั้งนี้ลูกเสือที่เป็นเสือดำมักจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่รวมกลุ่มหรือรวมฝูงหรือเดินร่วมกับเสือดาว จึงทำให้อ่อนแอและเป็นจุดอ่อนเพราะมีอัตราการรอดตายน้อยกว่า เสือดำจึงเป็นเสือที่พบได้น้อยกว่าเสือดาว และจากประสบการณ์ของผู้ที่เลี้ยงดูแลเสือในสวนสัตว์มีความเห็นว่า เสือดำนั้นมีความดุร้ายกว่าเสือดาว

ปัจจุบัน เสือดำ จากข้อมูลของผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย เปิดเผยไว้ว่าปริมาณประชากรของเสือดำ (หรือเสือดาวที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน) ในขณะนี้ว่าในแถบโซนเอเซียมีประมาณ 1,000-1,500 ตัว ในขณะที่ประเทศไทยมีเหลือไม่น่าเกิน 350 ตัว

และนี้เป็นเหตุผลที่ทำไมเสือดำหรือเสือดาวถึงเป็นสัตว์คุมครองเพราะเป็นสัตว์ที่มีจำนวนน้อยและยังมีการล่าของมนุษย์ในหลายพื้นที่ทำให้สัตว์ชนิดนี้มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ช่วยๆ กันอนุรักษ์ด้วยนะครับ

ขอขอบคุณ

ภาพ : เฟซบุ๊ค คนอนุรักษ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น